อาเซียนฟุตซอลแชมเปียนชิพ 2016

การแข่งขัน อาเซียนฟุตซอลแชมเปียนชิพ 2016 เป็นการแข่งขันครั้งที่ 13 ของทัวร์นาเมนต์ซึ่งจัดขึ้นที่ ประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม ถึง 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559[1]ภายหลังการทราบข่าวการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้เลื่อนการเป็นเจ้าภาพการแข่งขันอาเซียนฟุตซอลแชมเปียนชิพ 2016 ออกไป ต่อมาอินโดนีเซียเสนอตัวรับหน้าที่เป็นเจ้าภาพแทนเพื่อจัดการแข่งขันอาเซียนฟุตซอลแชมเปียนชิพ 2016 ต่อไป[2] แต่ทางอินโดนีเซียขอถอนตัวจากการเป็นเจ้าภาพแล้วเช่นกัน ทำให้สหพันธ์ฟุตบอลอาเซียนได้เจรจากับสมาคมฟุตบอลสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคมที่ผ่านมา แต่ด้วยเวลาที่มีอยู่จำกัดทำให้สิงคโปร์ หาผู้สนับสนุนไม่ทันจึงไม่พร้อมที่จะเป็นเจ้าภาพ ทำให้ทางสหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน ตัดสินใจยกเลิกการแข่งขันอาเซียนฟุตซอลแชมเปียนชิพ 2016 อย่างเป็นทางการ [3] แต่ล่าสุด ในการประชุมสภากรรมการ ฝ่ายบริหารของสหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน ได่มีมติให้ประเทศไทยกลับมาเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันที่สนามอินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก โดยเลื่อนไปเป็นเดือนมกราคม พ.ศ. 2560 โดยมีสิงคโปร์ที่จะหาสถานที่รองรับการแข่งขันในกรณีที่ประเทศไทยไม่พร้อม[4] โดยล่าสุดทีมชาติเวียดนามและทีมชาติสิงคโปร์ เป็นสองทีมล่าสุดที่ขอถอนทีมออกจากการแข่งขันในครั้งนี้

อาเซียนฟุตซอลแชมเปียนชิพ 2016

เมือง กรุงเทพมหานคร
ผู้ทำประตูสูงสุด Pyae Phyo Maung (8 ประตู)
ผู้เล่นยอดเยี่ยม จิรวัฒน์ สอนวิเชียร
ชนะเลิศ  ไทย (12 title)
ประเทศเจ้าภาพ  ไทย
จำนวนการแข่งขัน 11
รางวัลแฟร์เพลย์  ไทย
จำนวนประตู 134 (12.18 ประตูต่อนัด)
รองชนะเลิศ อันดับ 2  มาเลเซีย
รองชนะเลิศ อันดับ 1  พม่า
ทีม 7 (จาก 1 สมาพันธ์)
รองชนะเลิศ อันดับ 3  ติมอร์-เลสเต
สถานที่ 1 (ใน 1 เมืองเจ้าภาพ)
วันที่ 23−29 มกราคม 2560

ใกล้เคียง

อาเซียนฟุตซอลแชมเปียนชิพ อาเซียนฟุตซอลแชมเปียนชิพ 2022 อาเซียนฟุตซอลแชมเปียนชิพ 2017 อาเซียนฟุตซอลแชมเปียนชิพ 2015 อาเซียนฟุตซอลแชมเปียนชิพ 2018 อาเซียนฟุตซอลแชมเปียนชิพ 2014 อาเซียนฟุตซอลแชมเปียนชิพ 2016 อาเซียนฟุตซอลแชมเปียนชิพ 2013 อาเซียนฟุตซอลแชมเปียนชิพ 2007 อาเซียนฟุตซอลแชมเปียนชิพ 2008